วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ตัวอย่าง ความต้องการและปริมาณการใช้น้ำของถั่วเหลือง ในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

  จัดทำโดย นายรัศมี  ปาสาโก ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด
ชนิดพืช   :   ถั่วเหลือง   พื้นที่เพาะปลูก   :   100   ไร่   จังหวัด   :   ร้อยเอ็ด
สัปดาห์ วัน-เดือน-ปี วัน-เดือน-ปี Kc ETo Pen-Mon ET ET พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณน้ำ
(มม/วัน) (มม./วัน) (มม./สัปดาห์) (ไร่) (ลบ.ม.)
1 25 มกราคม 2559 31 มกราคม 2559 0.64 3.54 2.27 15.89                                        100.00                                     2,542.40
2 1 กุมภาพันธ์ 2559 7 กุมภาพันธ์ 2559 0.69 4.19 2.89 20.23                                        100.00                                     3,236.80
3 8 กุมภาพันธ์ 2559 14 กุมภาพันธ์ 2559 0.81 4.19 3.39 23.73                                        100.00                                     3,796.80
4 15 กุมภาพันธ์ 2559 21 กุมภาพันธ์ 2559 1.01 4.19 4.23 29.61                                        100.00                                     4,737.60
5 22 กุมภาพันธ์ 2559 28 กุมภาพันธ์ 2559 1.23 4.19 5.15 36.05                                        100.00                                     5,768.00
6 29 กุมภาพันธ์ 2559 6 มีนาคม 2559 1.32 4.72 6.23 43.61                                        100.00                                     6,977.60
7 7 มีนาคม 2559 13 มีนาคม 2559 1.35 4.81 6.49 45.43                                        100.00                                     7,268.80
8 14 มีนาคม 2559 20 มีนาคม 2559 1.34 4.81 6.45 45.15                                        100.00                                     7,224.00
9 21 มีนาคม 2559 27 มีนาคม 2559 1.27 4.81 6.11 42.77                                        100.00                                     6,843.20
10 28 มีนาคม 2559 3 เมษายน 2559 1.09 4.99 5.44 38.08                                        100.00                                     6,092.80
11 4 เมษายน 2559 10 เมษายน 2559 0.85 5.24 4.45 31.15                                        100.00                                     4,984.00
12 11 เมษายน 2559 17 เมษายน 2559 0.74 5.24 3.88 27.16                                        100.00                                     4,345.60
13 18 เมษายน 2559 24 เมษายน 2559 0.74 5.24 3.88 27.16                                        100.00                                     4,345.60
14 25 เมษายน 2559 1 พฤษภาคม 2559 0.72 5.19 3.74 26.18                                        100.00                                     4,188.80
                                  72,352.00

สถานการณ์การผลิตถั่วลิสงในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด

 
          จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำชีตอนกลาง  มีพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว  หลังจาการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเกษตรกร บางส่วนนิยมปลูกพืชหลังนา เช่น ข้าวโพด  มันสำปะหลัง  พืชผักต่างๆและถั่วลิสง
         ถั่วลิสงมีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่ลุ่มน้ำอเมซอนไปจนถึงประเทศบราซิล โดยถั่วลิสงในสกุล Arachis สามารถแบ่งออกได้เป็น ๑๙ ชนิด แต่สำหรับสายพันธุ์ที่ปลูกจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ Hypogaea ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะเป็นสายพันธุ์ป่า

          การปลูกถั่วลิสง มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่จะมีมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในสถานการณ์ปัจจุบันการผลิตถั่วลิสงนั้นยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ จึงได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  และพืนที่ผลิตในช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจากข้าว ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการผลิตถั่วลิสงชั้นพันธุ์ขยายมีประมาณ ๔๐๐ ไร่ ในเขตอำเภอธวัชบุรี  อำเภอโพธิ์ชัย  อำเภอโพนทอง และอำเภอหนองพอก  (ฤดูการลผลิต แล้ง ๒๕๕๘/๒๕๕๙) ซึ่งมีเกษตรกรในโครงการ การผลิตถั่วลิสง  จำนวน ๑๑๐ ราย  


ขณะที่ผลผลิต ฝักสด / ไร่ เฉลี่ย อยู่ที่  ๗๐๐ - ๘๐๐ กิโลกรัมโดยพื้นที่จำนวนนี้อยู่ในความรับผิดชอบ ของ งานผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด  ดำเนินงานโดย นายรัศมี  ปาสาโก เจ้าพนักงานการเกษตร   ในฤดูกาลผลิต ๒๕๕๙/๒๕๖๐ คาดว่าจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้น อีกประมาณ ๑๐๐ไร่ และเกษตรกรผู้ร่วมโครงการประมาณ ๑๕๐ ราย 
(** พื้นที่ที่เกษตรกรปลูกโดยทั่วไป ที่ไม่ได้ร่วมโครงการกับ ศวพ.ร้อยเอ็ด มีอยู่ทั่วไปเกือบทุกอำเภอ ประมาณ ๒๐๐ ไร่)