สาระสำคัญของทฤษฎีของฟรอยด์ อีริคสัน เพียเจท์ โคลเบิรด์ และชิกเกอร์ริ่ง
นักจิตวิทยาหลายท่านได้ศึกษาลำดับขั้นในการพัฒนาการของมนุษย์ โดยที่แต่ละท่านจะให้ความสนใจพัฒนาการในด้านต่างๆ เป็นพิเศษต่างกัน ทฤษฎีที่กล่าวถึงขั้นของพัฒนาการของมนุษย์ที่สำคัญมีดังนี้
1. Freudian Theory
ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud) เป็นแพทย์ที่ให้ความสนใจด้านจิตใจมนุษย์ จนได้ซื่อ
ว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) แนวความคิดของฟรอยด์มีอิทธิพลต่อการศึกษาพัฒนาการชีวิตมนุษย์มากในสหรัฐอเมริกา (ระหว่างปี ค.ศ 1920 ถึง 1950 ) ทฤษฎีพัฒนาการชีวิตของฟรอยด์เน้นให้เห็นความสำคัญด้านแรงผลักดันทางเพศในวัยเด็กที่พัฒนาตามวัยต่อๆไป แรงผลักชนิดนี้มีชื่อเฉพาะว่า ลิบิโด(Libido) เป็นพลังจิตสำคัญในการผลักดัน และการกำหนดทิศทางให้คนเราแสดงกริยาอาการต่างๆ ได้มีการเปรียบเทียบว่า ลิบิโดเปรียบเหมือนเชื้อเพลิงในห้องเครื่องยนต์ที่เผาไหม้เพื่อให้รถยนต์วิ่งได้ฟรอยด์แบ่งขั้นพัฒนาการชีวิตมนุษย์ดังนี้
Genital
Phallic
Anal
Oral Latency
Puberty and adulthood
เวลา : 18 เดือน 3 ปี 6 ปี 12 ปี
ภาพแสดงขั้นพัฒนาการชีวิตมนุษย์ตามแนวคิดของฟรอยด์
ที่มา : ไพบูลย์ เทวรักษ์. 2537 : 37
ขั้นที่ 1 เรียกว่า “ Oral State” เป็นขั้นที่เด็กอยู่ในวัยทารก ซึ่งเด็กจะมีความสุขความ
พึงพอใจในการใช้ปาก หากไม่ได้รับการตอบสนองที่ปากอย่างเหมาะสม เด็กจะมีลักษณะนิสัย Orial Fixation ในวัยอื่นต่อไป เช่น ดูดนิ้วมือ อมหรือเคี้ยวสิ่งของเสมอ
ขั้นที่ 2 เรียกว่า “Anal State” อายุประมาณ 2-3 ขวบ เด็กจะมีความสุขความพอใจใน
การกลั้นและขับถ่าย หากไม่ได้รับการตอบสนองในการกลั้นและขับถ่าย เด็กจะมีลักษณะนิสัย Anal Fixation ในวัยอื่นต่อไปเช่น เจ้าระเบียบ ก้าวร้าว
ขั้นที่ 3 เรียกว่า “Phallic State” อายุประมาณ 3-6 ขวบ เด็กมีความสุขความพอใจใน
การจับอวัยวะเพศของตนเองเล่น หากไม่ได้รับการตอบสนองในการจับอวัยวะเพศของตนเองแล้ว เด็กจะมีนิสัย Phallic Fixation ในขั้นต่อไป เช่น มีความวิตกกังวลเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อาจถึงขั้นชาเย็นหรือหมดความรู้สึกทางเพศก็เป็นได้ และในวัยนี้จะมี Oedipus Complex ซึ่งเป็นปมชีวิตที่เด็กชายจะรักแม่มากกว่าพ่อและเด็กหญิงจะรักพ่อมากกว่าแม่
ขั้นที่ 4 เรียกว่า “Latency State” อายุประมาณ 6-12 ขวบเด็กมีความสุข ความพอใจ
ในการเล่น สมมุติบทบาทเป็น พ่อ แม่ ลูก จึงเป็นลักษณะแฝงหรือเลียนแบบชีวิตครอบครัวในวัยผู้ใหญ่นั่นเอง หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองก็จะมี Latency Fixation ในวัยต่อไป คือไม่กล้าจะแต่งงานมีชีวิตครอบครัว กลัวความล้มเหลวในชีวิตสมรส
ขั้นที่ 5 เรียกว่า “Genetal Stage” อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นนั้น
เด็กจะมีความพอใจ และความต้องการตอบสนองจากเพศตรงข้าม หากเด็กไม่ได้รับความสนใจและความรู้เรื่องเพศอย่างเหมาะสมแล้วจะทำให้เด็กประสบปัญหาเรื่องเพศเป็นอย่างมากเป็นที่น่าสังเกตว่าทฤษฎีนี้พยายามอธิบายถึงหลักพัฒนาการชีวิตมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งชี้ให้เห็นขั้นตอนของการเจริญเติบโตในวัยต่างๆ ที่มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ฟรอยด์ได้เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะอารมณ์ที่ขมขื่น ปวดร้าวต่างๆ อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจเช่น ความต้องการมีรักร่วมเพศ เป็นปมปัญหามาจาก Fixation ในขั้น Anal หรือ Phallic เป็นต้น อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนมิใช่ว่าจะต้องมีปัญหา ถ้าไม่พัฒนาตามขั้นตอนนี้ แต่ทฤษฎีฟรอยด์เป็นแนวคิดหนึ่งที่ช่วยกำหนดขอบเขตของรูปแบบพัฒนาการชีวิตมนุษย์ที่มีค่าแก่การศึกษายิ่ง
2. Erikson’s Theory
อีริค อีริคสัน (Erik Erikson) เคยอยุ่ในกลุ่มจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ครั้นถึงปี ค.ศ. 1964 อีริคสันได้สร้างแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการชีวิตเรียกว่า “Psychosocial development” อธิบายลักษณะพัฒนาการชีวิตมนุษย์ทุกวัยว่าได้รับอิทธิพลจากสังคมที่เด็กอาศัยอยู่และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนที่ทำหน้าที่เป็นพ่อเป็นแม่ ตลอดจนญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ทั้งที่ทำงานและที่ตนเองอาศัยอยู่ พัฒนาการชีวิตมนุษย์ตามแนวคิดนี้สามารถแสดงขั้นตอนตั้งแต่เกิดจนตาย
Interprity
v.s Despair
Generativity
V.S Self-Absorption
Intimacy
V.S Isolation
Identy
V.S Role confusion
Industry
V.S Inferiority
Initiative
V.S Guilt
Autonomy
V.S Shame
Trust
V.S Mistrust
แรกเกิด 2 ปี 3 ปี 5 ปี 11ปี 18 ปี วัยผู้ใหญ่ วัยกลาง วัยชรา
ภาพแสดงขั้นพัฒนาการชีวิตมนุษย์ตามแนวคิดของอีริคสัน
ที่มา : ไพบูลย์ เทวรักษ์.2537 : 40
ขั้นพัฒนาการชีวิตมนุษย์อธิบายโดยย่อดังนี้
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ-ความไม่ไว้วางใจ (Trust V.S Mistrust) วัยทารก 1 ปีแรกของ
ชีวิต เด็กเรียนรู้ที่จะเกิดความรู้สึกไว้วางใจหรือเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจจากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว จากการที่เด็กได้รับการตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการขั้นนี้ คือมารดาและเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจก็คือการที่มารดาสามารถที่จะบำบัดความต้องการที่ทารกต้องการได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น