ความสำคัญและที่มา
จริยธรรมเป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังและหล่อหลอมในตัวของเด็กตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
โดยเริ่มตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าไปจนถึงเข้านอน
การปลูกฝังจริยธรรมตั้งแต่เด็กจากครอบครัวจนถึงสถาบันการศึกษา มีความสำคัญต่อเด็กมากเพราะเด็กเมื่อได้รับการปลูกฝังจริยธรรมที่ดี เลือกปฏิบัติได้ถูกต้อง
ก็จะนำพาชีวิตในวัยเติบใหญ่ให้เป็นคนดีต่อไป ทำให้สังคมมีความสุข
ดังนั้นจึงเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมจึงได้จัดทำการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเรื่องจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้น
ปวช.1 สัตวศาสตร์
จุดมุ่งหมาย
1.
เพื่อส่งเสริมจริยธรรมในเด็กและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.
เพื่อให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเอง
ตัวแปรที่ศึกษา
นักเรียนชั้นนักเรียนชั้น ปวช.1 สัตวศาสตร์ จำนวน 26
คน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อคัดเลือกและปลูกฝังจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นนักเรียนชั้น
ปวช.1 สัตวศาสตร์ โดยมีข้อจริยธรรมที่นำมาจัดอันดับในการคัดเลือกของนักเรียน 5
อันดับ คือ
1.
ความซื่อสัตย์
2.
ความรับผิดชอบ
3.
ความสุภาพ
4.
ระเบียบวินัย
5.
ความมีน้ำใจ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.
นักเรียนมีความภาคภูมิใจในจริยธรรมที่นักเรียนได้มีส่วนเลือกในการจัดอันดับค่าจริยธรรมที่พึงประสงค์
2.
มีเจตคติที่ดีต่อจริยธรรม
3.
นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขอบเขตการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการใช้ตัวเลือกจริยธรรมที่พึงประสงค์ 5
ตัวเลือก
เพื่อจัดอันดับ
จริยธรรม
ที่นักเรียนชอบมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด
มีขอบเขตดังนี้
1.
ประชากร นักเรียนชั้นนักเรียนชั้น ปวช.1 สัตวศาสตร์ จำนวน 26 คน
2.
ตัวเลือก จริยธรรมที่พึงประสงค์ 5
ตัวเลือกเพื่อจัดอันดับ
บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัย
ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1.
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม
2. แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของรัฐบาล
1.คุณธรรม จริยธรรม
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำว่าจริยธรรม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Morality ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โชติ เพชรชื่น (2524 : 23) กล่าวว่าจริยธรรม ก็คือ “จริยะ” แปลว่าความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ “ธรรม” คือ ความดี เมื่อรวมความหมายของสองคำเข้าด้วยกันคือ ความประพฤติดี
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำว่าจริยธรรม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Morality ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โชติ เพชรชื่น (2524 : 23) กล่าวว่าจริยธรรม ก็คือ “จริยะ” แปลว่าความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ “ธรรม” คือ ความดี เมื่อรวมความหมายของสองคำเข้าด้วยกันคือ ความประพฤติดี
กรมวิชาการ
(2524 : 3-4) ได้ให้ความหมายจริยธรรมว่าเป็นแนวทางของการประพฤติชอบทั้งกาย
วาจา และใจ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ (2548 : 2) ให้ความหมายคูณธรรมไว้ว่า สิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ยอมรับว่าดีงาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ และความดีงามที่ดีที่แท้จริงต่อสังคม
จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องมือช่วยตัดสิน และกำหนดการกระทำของตนเอง
โคลเบอร์ก (Kohlberg). 1976 : 4-5) ได้ให้ความหมายของจิยธรรมไว้วา จริยธรรมมีพื้นฐานของความยุติธรรม คือมีการกระจายสิทธิและหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน โดยมิได้หมายถึงเกณฑ์บังคับทั่ว ๆ ไป แต่เป็นเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลที่คนส่วนใหญ่รับไว้ในทุกสถานการณ์ ไม่มีการขัดแย้งเป็นอุดมคติ
เรสต์ (Rest . 1977 : 6) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมว่า จริยธรรมเป็นมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับหลักความยุติธรรมในการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละบุคคล เช่น ความรู้สึกส่วนตัวที่จะพัฒนาตนเองถึงจุดสุดยอดแห่งศักยภาพของเขา
จากความหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนการคิดในทางที่ถูกต้อง ดีงาม มีคุณประโยชน์ทั้งตนเอง ละส่วนรวมสามารถควบคุมตนเองในการประพฤติปฏิบัติ และการปรับตัวเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ (2548 : 2) ให้ความหมายคูณธรรมไว้ว่า สิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ยอมรับว่าดีงาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ และความดีงามที่ดีที่แท้จริงต่อสังคม
จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องมือช่วยตัดสิน และกำหนดการกระทำของตนเอง
โคลเบอร์ก (Kohlberg). 1976 : 4-5) ได้ให้ความหมายของจิยธรรมไว้วา จริยธรรมมีพื้นฐานของความยุติธรรม คือมีการกระจายสิทธิและหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน โดยมิได้หมายถึงเกณฑ์บังคับทั่ว ๆ ไป แต่เป็นเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลที่คนส่วนใหญ่รับไว้ในทุกสถานการณ์ ไม่มีการขัดแย้งเป็นอุดมคติ
เรสต์ (Rest . 1977 : 6) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมว่า จริยธรรมเป็นมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับหลักความยุติธรรมในการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม โดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณค่าหรือความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละบุคคล เช่น ความรู้สึกส่วนตัวที่จะพัฒนาตนเองถึงจุดสุดยอดแห่งศักยภาพของเขา
จากความหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนการคิดในทางที่ถูกต้อง ดีงาม มีคุณประโยชน์ทั้งตนเอง ละส่วนรวมสามารถควบคุมตนเองในการประพฤติปฏิบัติ และการปรับตัวเพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสังคม
การส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้
คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการขอบข่ายของคุณธรรม
จริยธรรม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ที่สำนักงานคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา
ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน และเยาวชน ได้แก่
ขยัน ประยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะทางการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ
ซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกเอนเอง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเอง และสังคม
สุภาพ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามสถานภาพ และกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วงสามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัว เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์
มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ และผู้ที่มีความเดือดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย และสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพ่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
ขยัน ประยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ขยัน คือ ผู้ที่มีความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในเรื่องที่ถูกที่ควร สู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
ประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะทางการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ
ซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกเอนเอง หรืออคติ ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน องค์กร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ รวมถึงการมีวินัยทั้งต่อตนเอง และสังคม
สุภาพ คือ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามสถานภาพ และกาลเทศะ มีสัมมาคารวะ เรียบร้อย ไม่ก้าวร้าว รุนแรง หรือวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทางเป็นผู้มีมารยาทดีงาม วางตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม มีความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วงสามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัว เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์
มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ และเห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ และผู้ที่มีความเดือดร้อน มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย และสติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพ่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
2.แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของรัฐบาล
แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล
จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ
มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ
รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม
จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘
โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย
วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย
จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ
เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน
ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ
รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้
๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย
โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง
๒.
ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง
แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน
๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร
การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม
สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ
๕.
สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม
นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว
องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง
เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย
ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป
การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม
และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย
ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร
เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ
เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ประชากร
2. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4. ปฏิทินการดำเนินการวิจัย
ประชากร
นักเรียนชั้นนักเรียนชั้น ปวช.1 สัตวศาสตร์ จำนวน 26
คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อคัดเลือกและปลูกฝังจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นนักเรียนชั้น
ปวช.1 สัตวศาสตร์ โดยมีแบบวัดข้อจริยธรรมที่นำมาจัดอันดับในการคัดเลือกของนักเรียน 5
อันดับ คือ
1.
ความซื่อสัตย์
2.
ความรับผิดชอบ
3.
ความสุภาพ
4.
ระเบียบวินัย
5.
ความมีน้ำใจ
สถิติที่ใช้ในการวิจัย
ค่าร้อยละ
ปฏิทินการดำเนินการวิจัย
วัน
เดือน ปี
|
กิจกรรม
|
หมายเหตุ
|
2 – 6 ก.ค. 55
|
ศึกษาจริยธรรมและการนำไปใช้
|
|
9 – 13 ก.ค.55
|
นักเรียนลงมือคัดเลือกจริยธรรม
|
|
16 – 20 ก.ค. 55
|
นักเรียนลงมือคัดเลือกจริยธรรม
|
|
23 – 27 ก.ค.55
|
เก็บรวบรวมข้อมูล สรุป
ผลการวิจัย
|
|
1 – 4 ส.ค.55
|
ทำรูปเล่ม
|
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
แบบบันทึกข้อจริยธรรมที่นักเรียนสนใจ
เรียงตามลำดับความพอใจสูงสุด
– ต่ำสุด
ชื่อ – นามสกุล
|
ความซื่อสัตย์
|
ความรับผิดชอบ
|
ความสุภาพ
|
ระเบียบวินัย
|
ความมีน้ำใจ
|
|
นายไพบูลย์
|
มุราชัย
|
5
|
4
|
3
|
1
|
2
|
นายคงศักดิ์
|
เล็กเจ็ก
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
นางสาวสุธิดา
|
พรมวะ
|
3
|
4
|
2
|
1
|
5
|
นายวชิระ
|
ศิริเวช
|
1
|
2
|
4
|
5
|
3
|
นายวสันต์
|
สาระวิถี
|
1
|
3
|
2
|
5
|
4
|
นางสาวเศรฐินี
|
รัตนวันทา
|
4
|
1
|
2
|
3
|
5
|
นายชัยรัตน์
|
เขตโสภา
|
3
|
5
|
4
|
2
|
1
|
นายนัฐพงษ์
|
สมแวง
|
3
|
1
|
2
|
4
|
5
|
นายจตุพล
|
โพเพชร
|
3
|
1
|
2
|
4
|
5
|
นางสาวนิตยา
|
ยางสิลา
|
5
|
1
|
2
|
3
|
4
|
นางสาวมาลินี
|
ชูทอง
|
4
|
2
|
5
|
1
|
3
|
นางสาวประกายดาว
|
ดวงพรม
|
3
|
1
|
2
|
3
|
4
|
นายจักรพงษ์
|
แน่นอุดร
|
4
|
3
|
5
|
1
|
2
|
นายจักรกฤษ
|
ยอดสิงห์
|
3
|
1
|
2
|
5
|
4
|
นายอนุวัฒน์
|
ต้นจำปา
|
4
|
2
|
5
|
1
|
3
|
นายสายันณ์
|
การวงค์
|
3
|
2
|
1
|
4
|
5
|
นายนิพล
|
เนียมเกิด
|
4
|
3
|
5
|
1
|
2
|
นายก็อบ
|
บัวพา
|
3
|
2
|
1
|
5
|
4
|
นายภานุเดชน์
|
ศรีรินทร์
|
4
|
3
|
5
|
1
|
2
|
นายเดชา
|
เสถียรรัตน์
|
3
|
2
|
1
|
5
|
4
|
นางสาวสุชาติ
|
แคนลาด
|
4
|
2
|
5
|
1
|
3
|
นางสาวกาญจนา
|
พูลเพิ่ม
|
3
|
1
|
5
|
2
|
4
|
นายจักกฤษ
|
แสงมณี
|
4
|
2
|
5
|
1
|
3
|
นายสุรศักดิ์
|
มงคล
|
3
|
2
|
1
|
5
|
4
|
นายอำนาจ
|
บุญเส็ง
|
4
|
2
|
5
|
1
|
3
|
นายภุชงค์
|
คำแดงไสย์
|
3
|
2
|
1
|
5
|
4
|
นายปรัชญา
|
ทองโชติ
|
2
|
3
|
5
|
1
|
4
|
ข้อจริยธรรมความซื่อสัตย์ คิดเป็นร้อยละ 47.22 ข้อจริยธรรมอันดับที่ 1
ข้อจริยธรรมความรับผิดชอบ คิดเป็นร้อยละ 47.22 ข้อจริยธรรมอันดับที่ 1
ข้อจริยธรรมความสุภาพ คิดเป็นร้อยละ 41.66 ข้อจริยธรรมอันดับที่ 2
ข้อจริยธรรมระเบียบวินัย คิดเป็นร้อยละ 47.22 ข้อจริยธรรมอันดับที่ 1
ข้อจริยธรรมความมีน้ำใจ คิดเป็นร้อยละ 38.88 ข้อจริยธรรมอันดับที่ 3
แผนภูมิแท่งแสดงค่าสูงสุดและต่ำสุดของข้อจริยธรรม 5
ข้อ
จากแผนภูมิแท่งแสดงการเปรียบเทียบข้อจริยธรรมสูงสุดและต่ำสุด
ข้อจริยธรรมที่ 1 , 2 , 4 สูงสุด ร้อยละ 47.22
ข้อจริยธรรมที่
3 รองจากอันดับสูงสุด ร้อยละ 41.66
ข้อจริยธรรมที่ 5 ต่ำสุด ร้อยละ 38.88
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล
และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษาวิจัย
ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า
ข้อจริยธรรมที่นักเรียนมีความคิดเห็นและตัดสินใจเลือกเป็นข้อที่ 1,2 และ 4 นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับจริยธรรมข้อนี้ เพราะมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.22
เท่ากัน มากเป็นอันดับ
1 ส่วนจริยธรรมอันดับสุดท้าย นักเรียนให้ความสำคัญ เช่นเดียวกัน
แต่เห็นว่าปัญหาสังคมส่วนใหญ่คือคนขาดจริยธรรมอันดับ 1 ,
2 , 4 มากกว่า ส่วนจริยธรรม อันดับสุดท้าย ยังไม่เป็นปัญหาสังคมมากเท่าไร
สามารถเติมเต็มในจริยธรรมข้อนี้ได้ง่ายกว่าข้ออื่น ๆ
อภิปรายผล
จาการศึกษาในครั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
1.
นักเรียนส่วนใหญ่มีจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์
ความรับผิดชอบ และความมีระเบียบวินัย มากที่สุด
ซึ่งเป็นผลดีต่อตัวนักเรียนและเป็นผลดีต่อสังคมในอนาคต
2.
จริยธรรมที่นักเรียนมีน้อยที่สุดคือ ความมีน้ำใจ
อาจเป็นเพราะนักเรียนกลุ่มนี้ยังขาดการอบรมบ่มนิสัยในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ซึ่งในข้อนี้จึงเป็นแนวทางที่จะแก้ไขต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1.
ในการกำหนดข้อจริยธรรม
อาจใช้ข้อจริยธรรมที่มากหรือน้อยกว่านี้ได้
2.
อาจทำการหาผลข้อจริยธรรมจากการให้นักเรียนโยงภาพจริยธรรมกับข้อความที่นักเรียนสนใจ ตามแต่ผู้วิจัยจะทำขึ้น
ทำได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ
วิจัยในชั้นเรียน
จริยธรรม 5 ด้าน
ที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้น ปวช.1 สัตวศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2555
ผู้วิจัย
นายพลากร
โคตรจันทร์
แผนกวิชาพืชศาสตร์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2555
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่องานวิจัย
จริยธรรม
5 ด้าน ที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้น
ปวช. 1 สัตวศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/2555
ชื่อผู้วิจัย นายพลากร โคตรจันทร์
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมจริยธรรมในนักเรียนชั้น ปวช.1 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 1/2555 โดยผู้วิจัยได้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นตามแบบสอบถาม
ผลการศึกษาปรากฏว่า จากการศึกษาและวิเคราะห์แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนชั้น
ปวช.1 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ ข้อจริยธรรมที่นักเรียนมีความคิดเห็นและตัดสินใจเลือกเป็นข้อที่ 1,2 และ 4 นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับจริยธรรมข้อนี้ เพราะมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.22
เท่ากัน มากเป็นอันดับ
1 ส่วนจริยธรรมอันดับสุดท้าย นักเรียนให้ความสำคัญ เช่นเดียวกัน
แต่เห็นว่าปัญหาสังคมส่วนใหญ่คือคนขาดจริยธรรมอันดับ 1 ,
2 , 4 มากกว่าส่วนจริยธรรม
อันดับสุดท้าย
ยังไม่เป็นปัญหาสังคมมากเท่าไร สามารถเติมเต็มในจริยธรรมข้อนี้ได้ง่ายกว่าข้ออื่น
ๆ
ประกาศคุณูปการ
การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้
สำเร็จได้ด้วยความกรุณาจากคุณครูผุสดี
ดาดวง ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ให้ความรู้
ความคิดให้คำแนะนำ คำปรึกษาตลอดจนการตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เป็นอย่างดี จนการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้
ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ดรองผู้อำนวยการทุกฝ่าย
หัวหน้าแผนกวิชาพืชศาสตร์ และหัวหน้างานวิจัย ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ ให้คำแนะนำ
ให้ความรู้ ความคิดที่มีประโยชน์ และอำนวยความสะดวกในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดี
และขอขอบใจนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาสัตวศาสตร์
ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ดทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการวิจัยและเก็บข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
จนกระทั่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น